จาระบี ธรรมดาๆ ใครจะรู้ว่า มีเกือบ 100 สูตร!!
เคยมีความสงสัยกันหรือไม่ครับว่าจาระบีที่เราต่างคุ้นเคย และได้ยินกันมานาน แท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร และชื่อจาระบีมีรากศัพท์มาจากภาษาอะไรกันแน่ ? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักจาระบีกันให้มากขึ้น เพิ่มความเข้าใจถึงที่มาที่ไป และศึกษาลงลึกเข้าไปว่าจาระบีที่ดูแสนจะธรรมดา แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความซับซ้อน และมีอะไรมากกว่าที่คิด
เคยมีเรื่องเล่ากันมาว่า ในครั้งที่อยู่เมืองนอกนั้นจะไปหาซื้อจาระบี แต่ฝรั่งกลับไม่รู้เรื่อง ฟังไม่ออก บอกว่าขอซื้อจาระบี้ จาระบี, แชระบี, เชอราบี ฝรั่งก็งงแล้วงงอีก จนกระทั่งมาตกลงกันได้ว่าคำนั้น คือ Grease (Lubricating Grease) นั่นเอง
อ้าว!! แล้วจาระบีมันมาจากไหน ?
จาระบีนั้น มีรากศัพท์ มาจากภาษาฮินดี (อ่านว่า ชะหระบี่ ) คือ ไขมันที่ใช้ในการหล่อลื่น ซึ่งน้ำมันหล่อลื่น ในอดีต นิยมใช้ไขมันวัวในการหล่อลื่นเพลาและล้อเกวียน ซึ่งจะต่างกับ Grease ในภาษาอังกฤษที่ จะไม่ได้หมายถึงไขมันสัตว์เลย
ทั้งนี้มีการสันนิษฐานกันว่าคำว่าจาระบี น่าจะเข้ามาพร้อมกับเรือกลไฟ ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือรถไฟในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ช่างกลในสมัยนั้นเป็นแขกอินเดียที่มาจากอาณานิคมอังกฤษ บ้างก็คาดว่ามาจากสมัยสงครามโลก ที่มีแขกอินเดียเข้ามาพร้อมกับกองทัพอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานที่จะสามารถยืนยันได้แน่ชัดถึงที่มา
เรามาเรียนรู้กันต่อว่า จริงๆ แล้ว จาระบีคืออะไร ?
จาระบี คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีสถานะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว ที่มีลักษณะข้นเหนียว ซึ่งใช้สำหรับการหล่อลื่น เพื่อป้องกันการสึกหรอ ของเครื่องมือหรือเครื่องจักร
จาระบี ช่วยหล่อลื่นได้อย่างไร ?
จาระบี คือผลิตภัณฑ์หล่อลื่นชนิดหนึ่ง ที่จะแตกต่างจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดาตรงที่เป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่มีความสามารถเฉพาะในการยึดเกาะ ซึ่งเหมาะสำหรับเครื่องจักรที่ไม่มีอุปกรณ์ในการกักเก็บน้ำมัน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ เรียกว่า สารอุ้มน้ำมัน ที่จะช่วยอุ้มน้ำมันไม่ให้ไหลหกออกมาเละหมดไป ในขณะที่ไม่มีการทำงานของเครื่องมือหรือเครื่องจักร
โดย จาระบี นั้นจะเหมาะกับอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ต้องใช้รับแรงดัน และแรงกระแทกเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น ฟันเฟือง, ลูกปืน, แบริ่ง, ข้อเหวี่ยง, ข้อต่อ, เพลา, และโอริง เป็นต้น โดยนำไปทาหรืออัดฉีดเข้าไปที่จุดต่าง ๆ ของอุปกรณ์ได้ตามต้องการ ทำให้ลดแรงเสียดทาน และป้องกันพื้นผิวจากการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี
จาระบีที่เห็น มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
โดยทั่วไปจาระบีมีลักษณะเป็นของเหลว และมีความเหนียวหนืดนั้น ผลิตมาจากสาร 3 องค์ประกอบหลัก คือ สารอุ้มน้ำมัน (Thickener) น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant Oil) และสารเพิ่มคุณภาพ (Additive) ซึ่งหากนำสารแต่ละประเภทมาผสมในปริมาณที่ต่างกันจะทำให้จาระบีมีคุณสมบัติการใช้งานที่ต่างกันออกไปด้วย เช่น ทนต่ออุณหภูมิสูง, ทนน้ำ, มีการยึดเกาะสูง, ป้องกันการสึกหรอ ป้องกันฝุ่น, ป้องกันการเกิดสนิม เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้ประเภทจาระบีให้เหมาะสมกับลักษณะงาน จะช่วยให้เครื่องมือเครื่องจักรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานให้ยาวนานอีกด้วย
ซึ่งโดยสรุปแล้ว หน้าที่หลักๆ ของจาระบี มีดังนี้
- เป็นสารหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนของเครื่องจักร
- ช่วยลดปัญหาเสื่อมสภาพจากการกัดกร่อน และป้องกันสนิมที่อาจจะเกิดขึ้นได้บนชิ้นส่วน
- ช่วยซับแรงกด และแรงกระแทกจากเครื่องจักร
- ยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักร
- ช่วยไม่ให้เกิดการเสียดสีระหว่างชิ้นส่วนที่หมุน ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสม
- ช่วยป้องกันฝุ่นละออง และความชื้นเข้าไปทำลายชิ้นส่วนของเครื่องจักร
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกท่านก็น่าจะพอทราบแล้วว่า จาระบี นั้นคือ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ที่มีประสิทธิภาพในการหล่อลื่นสิ่งต่างๆ แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอุ้มน้ำมัน ชนิดของน้ำมันหล่อลื่น และชนิดของสารเพิ่มคุณภาพ ซึ่งทาง PSP ก็มีสูตรมากมายให้ได้เลือกกันมากเกือบร้อยสูตร ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ และสามารถออกแบบสูตรของจาระบีได้ตามความต้องการของลูกค้า
ดูผลิตภัณฑ์และบริการด้านจาระบีของเรา
การเลือกใช้ประเภทจาระบี ให้เหมาะกับชิ้นงาน มีหลายสูตรซึ่งสามารถปรับในรูปแบบตัวเองได้
ผลิตภัณฑ์จาระบีของ PSP มีการตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพบนมาตรฐาน ASTM (American Society for Testing and Materials) โดยหน่วยงานตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพทั้งภายใน และภายนอกบริษัท ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และการสอบเทียบสากล ISO/IEC 17025 ซึ่งผลิตภัณฑ์จาระบีของ PSP มีให้เลือกหลากหลาย และครอบคลุมทุกความต้องการในการใช้งานที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน อาทิเช่น
จาระบีลิเทียม
นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป, อุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุปกรณ์และเครื่องจักรที่มีความร้อนสูง จาระบีลิเทียม สามารถได้เป็น 2 แบบคือ แบบปกติ และแบบคอมเพล็กซ์ ซึ่งแบบปกติจะเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเมื่อเทียบกับแบบคอมเพล็กซ์ และจาระบีชนิดอื่นๆ โดยมีจุดหยดตัวสูงถึง 180 องศาเซลเซียส สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ และยังสามารถใช้ในอุณหภูมิต่ำได้ถึงระดับ -35 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว คุณสมบัติที่โดดเด่นของจาระบีลิเทียมก็คือ มีความเสถียรสามารถทนต่อแรงเฉือน มีความสามารถในการสูบฉีดดีเยี่ยม สำหรับจาระบีลิเทียมแบบคอมเพล็กซ์ มีคุณสมบัติสูงกว่าลิเทียมแบบปกติ สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นพิเศษได้ เนื่องจากมีจุดหยดตัวสูงถึง 260 องศาเซลเซียส ถือได้ว่าเป็นจาระบีสารพัดประโยชน์มากที่สุด
จาระบีแคลเซียม
จาระบีแคลเซียมเป็นจาระบีที่ผลิตโดยอาศัยหลักการ การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกรดไขมันกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากความสามารถในด้านความทนทานต่อน้ำ และความสามารถในการยึดเกาะซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของจาระบีประเภทแคลเซียม จาระบีแคลเซียมจะมีราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจาระบีชนิดลิเทียม อย่างไรก็ตามจาระบีแคลเซียมอาจจะไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมหนัก หรือเครื่องจักรที่มีความร้อนสูงเนื่องจากจุดหยดตัวที่ต่ำเมื่อเทียบกับจาระบีลิเทียม
จาระบีอะลูมิเนียม
จาระบีอะลูมิเนียม เป็นจาระบีที่มีคุณสมบัติครอบคลุมทั้งในเรื่องของความสามารถในการใช้งานที่อุณหภูมิสูง ความสามารถในการยึดเกาะ และความทนทานต่อน้ำ จึงสามารถใช้งานได้หลากหลายด้าน แต่จาระบีอะลูมิเนียมจะเป็นจาระบีที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับจาระบีชนิดอื่นๆ
การเลือกใช้งานจาระบีให้เหมาะสมจึงต้องคำนึงถึงหลายๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นของคุณสมบัติของจาระบีและข้อจำกัดต่างๆ ของอุปกรณ์เครื่องจักร เพื่อยืดอายุการใช้งาน และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่ออุปกรณ์เครื่องจักร
จาระบี เมื่อหมดสภาพ สังเกต อย่างไร ?
จาระบีถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขอบเขตอายุการใช้งานเช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ วิธีการตรวจสอบเพื่อบ่งบอกว่าจาระบีในเครื่องจักรยังมีสภาพที่สมบูรณ์ให้แน่ชัดจะต้องทำการรื้อประกอบเครื่องจักรเพื่อนำจาระบีมาตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพโดยหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นไปได้ยาก และใช้เวลา ในเบื้องต้นมีจุดสังเกตหลายอย่าง ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ควรจะล้างอัดจาระบีใหม่ได้แล้ว โดยสิ่งที่ต้องสังเกตมีดังนี้
- มีเสียงดังผิดปกติดังมาจากบริเวณข้อเหวี่ยง ฟันเฟือง หรือ ตลับลูกปืน ของเครื่องจักร เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
- มีฝุ่นจำนวนมากผสมเข้าไปกับจาระบี ทำให้ลักษณะของจาระบีมีความแห้งฝืด หรือมีลักษณะผิดแปลกไปจากเดิม
- จาระบีมีลักษณะสีเข้ม และมีความหนืดสูงผิดปกติ หรือมีลักษณะร่วนจนหลุดร่วงออกมาจากบริเวณที่ต้องการหล่อลื่น
- จาระบีมีลักษณะเหลวไม่สามารถยึดเกาะจนหยดหรือกระเด็นออก ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างจาระบีและความชื้น
- บริเวณตลับลูกปืนมีความร้อนสูง ซึ่งเกิดจากการเสียดสี เพราะจาระบีไม่เพียงพอหรือหมดสภาพ
เมื่อไหร่ที่ควรอัดจาระบี?
ควรทำการตรวจสอบคุณภาพของจาระบีทุกครั้งเมื่อได้รื้อเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องจักร หรือหากใช้งานเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ควรทำการอัดจาระบีใหม่อย่างน้อย ๆ ทุก 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ หรือหากชิ้นส่วนเครื่องจักรนั้นถูก ฝุ่น น้ำ ความร้อน หรือ สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ตลอดเวลาขณะทำงาน ควรทำการตรวจเช็ก และอัดจาระบีใหม่ทุก ๆ 3-4 เดือน เพื่อป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนต่าง ๆ
การเลือกใช้สินค้าซักประเภทหนึ่ง คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงหลายองค์ประกอบ ไม่เพียงแค่ตัวสินค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึง วิธีการผลิต, วิธีกระจายสินค้า, ศูนย์ควบคุมคุณภาพ, มาตรฐานการผลิตที่ต้องได้รับความน่าเชื่อถือ, รวมถึงผู้ผลิตที่มีความสามารถ, ความเชี่ยวชาญ, มีมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง, ประสบการณ์, หรือการร่วมงานกับบริษัทที่มากมายหลายที่
PSP คือผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิต การขนส่ง ซึ่งได้รับการยอมรับจากแบรนด์ผู้ผลิตมากมาย มั่นใจได้ว่า จาระบี รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเรา จะได้มาตรฐานสูงสุด
PSP ดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื่นครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากลมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี โดยมีการให้บริการที่หลากหลาย ครบวงจร และครอบคลุมตลอดความต้องการของอุตสาหกรรม
เราคือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์หล่อลื่นแบบครบวงจร ให้บริการพัฒนา และผลิต ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น โดยเป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้า (Made-to-Order) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant) จาระบี (Grease) และให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ตั้งแต่ศูนย์กระจายน้ำมันเชื้อเพลิง (Terminalling), ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ไปจนถึงให้บริการการขนส่งทุกรูปแบบ (3PL)
มั่นใจได้เลยว่า เราคือผู้นำในผลิตภัณฑ์หล่อลื่นครบวงจร ที่ได้มาตรฐานและวางใจได้