Occupational Health and Safety พื้นฐานขององค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน | P.S.P. Specialties

Occupational Health and Safety พื้นฐานขององค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ในยุคปัจจุบัน ความปลอดภัยในสถานที่ทำงานไม่ได้เป็นเพียงข้อกำหนดตามกฎหมายหรือมาตรฐานอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างองค์กรที่ยั่งยืน ความปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการช่วยปกป้องให้ชีวิตและสุขภาพของพนักงาน ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ และเดินหน้าสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานและผู้รับเหมาทุกคน ด้วยการตั้งเป้าหมายหลัก “Zero Accident” หรืออุบัติเหตุเป็นศูนย์

“Zero Accident” ก้าวสำคัญสู่การเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

การดำเนินงานด้านความปลอดภัยของ PSP มุ่งเน้นการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับชีวิตและสุขภาพของทุกคน หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการจัดกิจกรรม Safety Talk ประจำปี 2568 ซึ่งเป็นเวทีในการนำเสนอผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสื่อสารนโยบาย แนวทาง และเป้าหมายในปี 2568

รายละเอียดกิจกรรม Safety Talk ประจำปี 2568

กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดย แผนก SHE และคณะกรรมการ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (คปอ.) ในทุกพื้นที่ของ PSP โดยมีเป้าหมายเพื่อปลุกพลังความร่วมมือจากพนักงานและผู้บริหาร รายละเอียดกิจกรรมมีดังนี้:

PSP คลัง 1: วันที่ 3 มกราคม 2568 เวลา 8.00-9.00 น. จัดขึ้น ณ ลานหน้าอาคาร GP

PSP คลัง 3: วันที่ 4 มกราคม 2568 เวลา 8.00-9.00 น. จัดขึ้น ณ ลานหน้าอาคาร DC1

PSP คลัง 2: วันที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 8.00-9.00 น. จัดขึ้น ณ ลานสนามแบด TL

กลยุทธ์และเป้าหมายด้านความปลอดภัย ปี 2568

PSP ได้วางกลยุทธ์เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในองค์กร โดยมีเป้าหมายสำคัญ ได้แก่:

  1. อบรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: ครอบคลุมพนักงานและผู้รับเหมา 100%
  2. รณรงค์ Safety Talk ประจำปี: พนักงานทุกคนต้องเข้าร่วม 100%
  3. การตรวจสอบอาชีวอนามัยในพื้นที่: โรงงานและสำนักงานผ่านการตรวจสอบ 100%
  4. กิจกรรม Near Miss Activity: พนักงานต้องรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุอย่างน้อย 3 เรื่องต่อปี
  5. การซ้อมแผนฉุกเฉินระดับจังหวัด: จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง
  6. สุ่มตรวจการปฏิบัติงาน: ให้สอดคล้องกับ WI ทั้งพนักงานและผู้รับเหมา ครบ 100%
  7. การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย: นำไปใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในปีถัดไป

ยกระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย สู่องค์กรที่ยั่งยืน

กิจกรรม Safety Talk ไม่เพียงแต่เป็นการสื่อสารด้านความปลอดภัย แต่ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของ PSP ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาพและความปลอดภัยในอุตสาหกรรม ด้วยเป้าหมาย “Zero Accident”ที่ชัดเจน

PSP เชื่อว่าความร่วมมือของพนักงานทุกคนและการสนับสนุนจากชุมชนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน